top of page
Search
Writer's pictureArich Audit (Gungginkk School)

มาตรฐานบัญชี EP.3 : TFRS 9 Part 1 ไม่ยากอย่างที่คิด

Updated: Feb 23, 2021

สรุป TFRS9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ในเรื่อง "การบัญชีป้องกันความเสี่ยง Hedge Accounting" Part 1

TFRS 9 Financial Instrument การเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินจากการบังคับใช้ TFRS 9 มี 3 ส่วน ได้แก่ 1. Classification & Measurement การจัดประเภทและการวัดมูลค่า

2. Impairment Loss การด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน

3. Hedge Accounting การบัญชีป้องกันความเสี่ยง

ความรู้เบื้องต้น ของประเภทของอนุพันธ์ (Derivatives)

Forward เป็นสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการที่จะรับและส่งมอบสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในราคาที่ระบุไว้ (Exercise Price) ณ วันสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด (Settlement Date of Delivery Date) ส่วนมากสัญญาฟอร์เวิร์ดจะไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอน ไม่มีสัญญาที่เป็นมาตรฐานและการซื้อขายเป็นแบบนอกตลาด (Over the Counter หรือ OTC) ทำให้มีสภาพคล่องต่ำ


Future เป็นสัญญาที่มีลักษณะเหมือนสัญญา Forward แต่มีความแตกต่างตรงที่สัญญา Futures เป็นสัญญามาตรฐาน (Standardized) และจะทำการซื้อขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นตลาดกลาง โดยในประเทศไทยคือ Thailand Futures Exchange (TFEX)


Option เป็นสัญญาที่ผู้ขายออปชั่นให้สิทธิแก่ผู้ซื้อออปชั่น ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในอนาคตตามราคาและจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยผู้ซื้อออปชั่นเป็นผู้มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ในระยะเวลาที่กำหนด


SWAP เป็นสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดกัน โดยแบ่งเป็น Interest Rate Swap คือการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกัน และ Cross Currency Swap คือการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างกันทั้งดอกเบี้ยและสกุลเงิน

อนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงอย่างไร

3 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Hedge Accounting

- Identification of Hedge Item คือ ระบุว่าอะไรมีความเสี่ยง

- Nature of Risk Being Hedge คือ ความเสี่ยงเกิดจากอะไร

- Identification of Hedge Instrument คือ ระบุว่าใช้เครื่องมืออะไรในการป้องกันความเสี่ยง


ตัวอย่าง การ “ป้องกันความเสี่ยง” และ “ไม่ป้องกันความเสี่ยง”

ลูกหนี้ต่างประเทศ (Hedge Item) กิจการมีลูกหนี้ USD 100 ที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท/1 USD เท่ากับ 3,000 บาท รับชำระอีก 1 เดือนข้างหน้า

ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (Nature of Risk) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน USD ต่อ THB ในอีก 1 เดือนข้างหน้า

สัญญา Forward (Hedge Instrument) กิจการทำสัญญา Forward “ขาย” USD 100 ที่อัตราแลกเปลี่ยน 29 บาท/1 USD เท่ากับ 2,900 บาท ขายในอีก 1 เดือนข้างหน้า

สมมติ : เหตุการณ์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เกิดขึ้น 3 สถานการณ์ (3 Cases)

อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ต่อ 1 USD ในอีก1เดือนข้างหน้าเป็น 32 บาทต่อ 1 USD ลูกหนี้ [(32-30) x USD 100 = 200] กำไร 200 สัญญา Forward [(29-32) x USD 100 = 300] ขาดทุน (300)

Case 1 : สุทธิแล้ว ขาดทุน 100 บาท


สมมติ : เหตุการณ์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เกิดขึ้น 3 สถานการณ์ (3 Cases)

อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ต่อ 1 USD ในอีก1เดือนข้างหน้าเป็น 29 บาทต่อ 1 USD ลูกหนี้ [(29-30) x USD 100 = (100)] ขาดทุน (100) สัญญา Forward [(29-29) x USD 100 = 0] ไม่มีกำไร/ขาดทุน

Case 2 : สุทธิแล้ว ขาดทุน 100 บาท


อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ต่อ 1 USD ในอีก1เดือนข้างหน้าเป็น 27 บาทต่อ 1 USD ลูกหนี้ [(27-30) x USD 100 = (300)] ขาดทุน (300) สัญญา Forward [(29-27) x USD 100 = 200] กำไร 200

Case 3 : สุทธิแล้ว ขาดทุน 100 บาท

สรุปการ “ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง” และ “ป้องกันความเสี่ยง”

อัตราแลกเปลี่ยน ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง ป้องกันความเสี่ยง

Case 1 : 32 บาท ต่อ 1 USD ลูกหนี้กำไร 200 บาท ลูกหนี้ กำไร 200 บาท

(32-30) x USD 100 200 (32-30) x USD 100 = 200

Forward ขาดทุน 300 บาท

(29-32) x USD 100 =(300)


Case 2 : 29 บาทต่อ 1 USD ลูกหนี้ขาดทุน 100 บาท ลูกหนี้ขาดทุน 100 บาท

(29-30) x USD 100 = (100) (29-30) x USD 100 = (100)

Forward ไม่มีกำไรขาดทุน

(29-29) x USD 100 = 0


Case 3 : 27 บาท ต่อ 1 USD ลูกหนี้ขาดทุน 300 บาท ลูกหนี้ขาดทุน 300 บาท

(27-30) x USD 100 = (300) (27-30) x USD 100 = (300)

Forward กำไร 100 บาท

(29-27) x USD 100 = 200


กำไร/ขาดทุน ไม่มีความแน่นอน กำไรขาดทุนมีความแน่นอน

ในตอนต่อไป เราจะมาสอนวิธีการลงบัญชีของ Hedge Accounting กันค่ะ อย่าลืมติดตามนะคะ

ถ้าเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี

ฝาก Like & Share & Subscribe ด้วยค่ะ

Youtube,Facebook : GungGinkk School

1,048 views0 comments

Comments


bottom of page