สรุป TFRS 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน
ตัวอย่างและคำอธิบาย เรื่อง “การด้อยค่า” (Impairment) แบบ Simplified Approach
การประมาณการด้อยค่า
การรับรู้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss Model) โดยการพิจารณาเหตุการณ์ในอดีต สถานการณ์ปัจจุบัน และการพยากรณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคต
อดีต → ตั้งสำรองเฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ในอดีตและปัจจุบันว่าจะเก็บหนี้ไม่ได้
เช่น กิจการมีลูกหนี้ 10 ล้าน ลูกหนี้เป็นธุรกิจโรงแรม ไม่มีนักท่องเที่ยวมาหลายเดือน กิจการจะยังไม่ตั้งสำรอง จนเมื่อลูกหนี้ไม่จ่ายชำระเงินเกินเกณฑ์ระยะเวลาที่กิจการกำหนดหรือลูกหนี้มีข้อบ่งชี้ว่าล้มละลายไม่จ่ายเงิน
ปัจจุบัน → ตั้งสำรองทันที โดยไม่ต้องมีข้อบ่งชี้ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ในอนาคตประกอบด้วย
เช่น กิจการมีลูกหนี้10 ล้าน ลูกหนี้เป็นธุรกิจโรงแรม ไม่มีนักท่องเที่ยวมาหลายเดือน กิจการตั้งสำรองทันทีเมื่อมีการคาดการณ์ในอนาคตว่าลูกหนี้จะจ่ายเงินไม่ได้ เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเลย
วิธีอย่างง่าย (Simplified Approach)
Expected Credit Loss (ECL) = Loss Rate x Outstanding
Expected Credit Loss (ECL) ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
Loss Rate
1. Average Historical Default Rate (อัตราผิดนัดชำระหนี้ในอดีต)
x
2. Forward Looking Factor (การคาดการณ์สภาวการณ์ในอนาคต )
*Lass Rate คำนวณ 1 x 2
Outstanding จำนวนลูกหนี้
วิธีการคำนวณอัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้(Default Rate)
อัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้ได้มาจากประสบการณ์อันเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต(Historical data)ของกิจการเองโดยเลือกช่วงเวลาในอดีตไม่สั้นหรือยาวเกินไปและจัดชั้นอายุของลูกหนี้เพื่อคำนวณหาอัตราผิดนัดชำระ (Default Rate) ในแต่ละชั้นลูกหนี้ โดยมีการคำนวณ 3 วิธี ดังนี้
1. แบบอัตราการเลื่อนชั้นอายุของลูกหนี้ (Rolling credit rate method)
2. แบบอัตราส่วนสูญเสียด้านเครดิตของชั้นอายุของลูกหนี้ (Credit Loss method)
3. แบบค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเฉพาะเจาะจง(Specific method)และการพิจารณาตามนโยบายของบริษัท
** ขอยกตัวอย่างวิธีที่ 2 ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้บ่อย และเพื่อไม่ให้เนื้อหายาวจนเกินไป
2.แบบอัตราส่วนสูญเสียด้านเครดิตของชั้นอายุของลูกหนี้ (Credit Loss method)
กิจการเก็บข้อมูลลูกหนี้ในอดีตจากออกใบแจ้งหนี้จำนวนเงินทั้งหมด 10,000 บาท โดยใช้ Provision Matrix ในการคำนวณ ดังนี้
ระยะเวลา ชำระ ยังไม่ได้ชำระ ลูกหนี้ก่อนได้รับ ส่วนสูญเสียด้าน อัตราส่วน
ชำระในช่วงนั้น เครดิตที่เกิดขึ้น การผิดนัดชำระ
วันแรก 10,000 A B B/A
ยังไม่เกิน
กำหนด
0-31 วัน 4,000 6,000 10,000 500 5%
31 -60 วัน 2,500 3,500 6,000 500 8%
61-180 วัน 1,500 2,000 3,500 500 14%
181-360วัน 1,500 500 2,000 500 25%
เกิน 360 วัน 500 500 500 500 100%
(ติดหนี้สูญ) **(ไม่ชำระ) **(ไม่ชำระ)
รวม 10,000
** เมื่อเรานำยอดการผิดนัดชำระที่แท้จริง จำนวน 500 บาท ไปเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาจะพบอัตราการผิดนัดชำระในแต่ละช่วง
แบบอัตราส่วนสูญเสียด้านเครดิตของชั้นอายุของลูกหนี้ (Credit Loss method) (ต่อ)
นำ Default Rate มาปรับด้วย Forward Looking Factor เช่น
• อัตราการว่างเงินเพิ่มขึ้น 2% มีความสัมพันธ์เส้นตรงกับการผิดนัดชำระหนี้
• GDP ที่ลดลง 2% มีความสัมพันธ์เส้นตรงกับการผิดนัดชำระหนี้
โดยข้อสมมุติฐานจะต้องมีความสมเหตุสมผลและสะท้อนข้อมูลในอนาคตได้
ระยะเวลา Historical Forward Looking Factor Loss Rate (Impairment Rate)
ยังไม่เกินกำหนด
0-31 วัน 5% x 1.02 = 5.1%
31-60 วัน 8% x 1.02 = 8.16%
61-180 วัน 14% x 1.02 = 1 4.28%
181-360 วัน 25% x 1.02 = 25.5%
เกิน 360 วัน 100% x 1.02 = 100%
(ตัดหนี้สูญ)
แบบอัตราส่วนสูญเสียด้านเครดิตของชั้นอายุของลูกหนี้ (Credit Loss method) (ต่อ)
สมมุติกิจการมียอดลูกหนี้แต่ละช่วงตามตารางด้านล่าง ณ 31 ธันวาคม 2563 กิจการจะต้องนำลูกหนี้แต่ละช่วง คูณ Loss Rate ของช่วงนั้นเพื่อหาผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วง
ระยะเวลา OutstandingBalance(AR) Loss Rate (Impairment Rate) ค่าเผื่อขาดทุนด้านเครดิต
ยังไม่เกิน
กำหนด
0-31 วัน 10,000,000 x 5.1% = 510,000
31-60 วัน 1,000,000 x 8.16% = 81,600
61-180 วัน 10,000 x 14.28% = 1,428
181-360 วัน 1,000 x 25.5% = 255
เกิน 360 วัน 5,000 x 100% = 5,000
(ตัดหนี้สูญ)
ลูกหนี้รวม 11,016,000 รวม 598,283
การบันทึกบัญชี
การบันทึกรายการปรับปรุงที่เกี่ยวข้อง
Dr. ส่วนขาดทุนจากประมาณการ
ส่วนสูญเสียด้านเครดิตของลูกหนี้การค้า (PL) 598,283
Cr. ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิต
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้การค้า 598,283
ตัวอย่างเป็นการคำนวณแบบง่ายๆไม่ได้นำสมมุติฐานที่สมจริงมาใช้ ถ้าเพื่อนๆนำไปคำนวณในกิจการของตนเอง อยากให้ใช้ข้อสมมุติฐานที่สมจริงกว่านี้มาใช้ในการคำนวณค่ะ
ยังเหลืออีกวิธีในการคำนวณ คือ วิธีทั่วไป (General Approach) ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ถ้ามีโอกาสจะทำสรุปมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเพลินๆ ในเรื่องของ TFR9 กันอีกนะคะ
หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
ฝากกด Like & Share & Subscribe ด้วยนะคะ
Facebook : GungGinkk School กุ๋งกิ๋ง สคูล
Youtube : GungGinkk School
Line : @arichaudit
Comments