Cash Conversion Cycle
Cash Conversion Cycle หรือเรียกว่า วงจรเงินสด เป็นวิธีอธิบายง่ายๆ เปรียบเทียบกันระหว่างรับเงินกับจ่ายเงิน
ถ้าจ่ายก่อนรับเงิน = ขาดสภาพคล่อง แต่รับเงินก่อนจ่าย = สภาพคล่องดีเยี่ยม
ซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า >> ผลิตวางขาย >> รับเงินลูกหนี้ >> ใช้เวลากี่วัน? >> รับเงิน VS
ซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า >> จ่ายเงินเจ้าหนี้ >> ใช้เวลากี่วัน? >> จ่ายเงิน
Cash Conversion Cycle จึงเป็นอีกทฤษฎีนึงในการบริหารจัดการเงินสดของกิจการ โดยเจ้าของจะเข้าไปจัดการบริหารในส่วนของ Credit Term ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ และการบริหารสินค้าคงเหลือ ในเรื่องระยะเวลาในการผลิต ระยะเวลาในการขายสินค้าให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้กิจการขาดสภาพคล่องนั่นเอง
Cash Conversion Cycle
ปกติเราจะนำ Ratio มาประยุกใช้กับเรื่องนี้ เพื่อหาช่วงเวลาที่กิจการผลิตสินค้า เก็บเงินลูกค้า และจ่ายเงินเจ้าหนี้ โดยจะใช้ 3 Ratio นี้
1. Inventory Days คือ ดูว่าสินค้าตั้งแต่เริ่มผลิตจนขายได้ ใช้เวลากี่วัน
(365 days/Inventory Turnover)
2. AR Days คือ ดูว่าตั้งแต่ขายสินค้าจนเก็บเงินได้ใช้เวลากี่วัน
(365 days/AR Turnover)
3. AP Days คือ ดูว่าตั้งแต่ซื้อวัตถุดิบจนถึงจ่ายเงินเจ้าหนี้ใช้เวลากี่วัน
(365 days/AP Turnover)
Cash Conversion Cycle เป็นลบ = มีสภาพคล่อง
- สมมติ กิจการใช้เวลาผลิตสินค้า 15 วัน ใช้เวลาเก็บเงินลูกหนี้ 15 วัน และระยะเวลาจ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ 40 วัน วงจรเงินสดจะเป็นดังภาพ
วันที่ซื้อ ระยะเวลาในการผลิต + วันที่ขาย ระยะเวลาในการเก็บเงิน
Inventory Days 15 วัน + AR Days 15 วัน = 30 วัน
เก็บเงินก่อน จ่ายหนี้ทีหลัง 30 วัน – 40 วัน = -10 วัน
ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเจ้าหนี้ AP Days = 40 วัน
Cash Conversion Cycle คือ 30 – 40 = -10
กิจการใช้เวลา 30 วันในการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสด
แต่มีเวลากว่า 40 วันในการจ่ายคืนเจ้าหนี้
ทำให้กิจการมีเงินเหลือ 10 วัน ในการหาประโยชน์ จนกว่าจะจ่ายเจ้าหนี้
Cash conversion cycle เป็นบวก = ขาดสภาพคล่อง
สมมติ กิจการใช้เวลาผลิตสินค้า 20 วัน ใช้เวลาเก็บเงินลูกหนี้ 20 วัน และระยะเวลาจ่ายเงินคืนเจ้าหนี้ 30 วัน วงจรเงินสดจะเป็นดังภาพ
วันที่ซื้อ ระยะเวลาในการผลิต + วันที่ขาย ระยะเวลาในการเก็บเงิน AR Days
Inventory Days 20 + AR Days 20 = 40
ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเจ้าหนี้ AP Days = 30 วัน
จ่ายหนี้ก่อนจึงจะเก็บเงินได้ 40 วัน – 30 วัน = 10 วัน
Cash Conversion Cycle คือ 40 – 30 = 10
กิจการใช้เวลา 40 วันในการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสด
แต่มีเวลาแค่ 30 วันในการหาเงินมาจ่ายคืนเจ้าหนี้
ทำให้กิจการต้องกู้เงินมาใช้ช่วง 10 วัน จนกว่าจะเก็บเงินจากลูกค้าได้
ประเภทธุรกิจ
1. CCC เป็นลบ คือ รับเงินลูกค้าก่อน ค่อยจ่ายเจ้าหนี้ทีหลัง เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือกิจการที่มีอำนาจต่อรองสูงที่นำของมาขายก่อน ขายได้แล้วจึงนำเงินไปจ่าย Supplier ภายหลังหรือกิจการที่รับจ้างผลิต ที่เก็บเงินลูกค้าก่อนจึงจะยอมผลิตให้
2. CCC เป็นบวก คือ จ่ายเจ้าหนี้ก่อน แล้วค่อยเก็บเงินลูกค้าเช่น กิจการที่ต้องจ่ายเงินมัดจำค่าสินค้าก่อน หรือกิจการที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ จึงได้ Credit Term จากเจ้าหนี้สั้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องดูลักษณะของการทำธุรกิจประกอบด้วยแต่ถ้าให้ดี ควรทำให้ CCC เป็นลบ จะดีต่อวงจรเงินสดมากๆ
Cash Conversion Cycle
แต่ถ้า CCC เป็นลบแล้ว กิจการก็ยังเงินสดไม่พออีก ทำยังไง??
แยกประเภทค่าใช้จ่ายออกเป็น ขยาย CreditTerm ได้มั้ย? และ ค่าใช้จ่ายอะไรสำคัญ อะไรไม่ไม่สำคัญ
อะไรที่สำคัญ >> กันเงินไว้จ่ายส่วนนี้ก่อน
อะไรที่ไม่สำคัญ >> ขอขยาย Credit Term ออกไปก่อน
ค่าใช้จ่าย Fixed >> พวกค่าเช่า ค่าบริการรายเดือนต่างๆ หรือเงินเดือนพนักงาน ขอต่อรองราคา หรือตัดสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ขอลดค่าเช่า ขอลดเงินเดือน
ค่าใช้จ่าย Variable >> พวกค่าจ้างรายวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ต้องลดปริมาณการใช้ ค่าใช้จ่ายจะลดลงตามมาเอง เช่น ลดชั่วโมงการทำงานรายวัน ค่าจ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ จะลดตามมาเอง
หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี ฝากกด Like & Share & Subscribe ด้วยนะคะ
Facebook : GungGinkk School กุ๋งกิ๋ง สคูล
Youtube : GungGinkk School
Line : @arichaudit
Web : www.arichaudit.com
Comments