ขอบเขตของ TFRS 3
การรวมธุรกิจ” (Business Combination) ต้องมี 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1.ปัจจัยนำเข้า (Input)
2.กระบวนการ (Process)
3.ผลผลิต (Output)
ถ้าไม่มี Process ถือว่าเป็น “การซื้อสินทรัพย์” ไม่สามารถนำ TFRS 3 มาใช้ได้
ตัวอย่าง
1.ซื้อโรงงานพร้อมคนงาน เท่ากับ ได้พนักงานมา “Process” ถือเป็น “การรวมธุรกิจ” ใช้ TFRS 3
2.ซื้อเฉพาะโรงงาน ไม่มีพนักงานมาด้วย ถือว่าเป็น “การซื้อสินทรัพย์ทั่วไป” ห้ามใช้ TFRS 3
ขั้นตอนในการระบุการรวมธุรกิจ
การถือปฏิบัติที่นักบัญชีต้องรู้ ในขั้นตอนการรวมธุรกิจ คือ
1. ระบุผู้ซื้อ
2. กำหนดวันที่ซื้อ
3. รับรู้และวัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่ระบุได้ที่ได้มา หนี้สินที่รับมาและส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมให้ผู้ถูกซื้อ
4. รับรู้และวัดมูลค่าของค่าความนิยม หรือ กำไรจากการซื้อในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม
ขั้นตอนในการระบุการรวมธุรกิจ
1. ระบุ “ผู้ซื้อ”
ผู้ซื้อ คือ กิจการที่ได้อำนาจการควบคุมผู้ถูกซื้อ ตามนิยาม TFRS 10 และเป็นผู้จัดทำงบการเงินรวม
การควบคุม (อ้างอิง TFRS 10)
ผู้ลงทุนควบคุมผู้ได้รับการลงทุน ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังนี้
1.มีอำนาจเหนือผู้ได้รับการลงทุน
2.ฐานะเปิดต่อหรือมีสิทธิในผลตอบแทนที่ผันแปรจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการลงทุน
3.การมีความสามารถในการใช้อำนาจเหนือผู้ได้รับการลงทุน เพื่อให้ได้จำนวนผลตอบแทนของผู้ลงทุน
ขั้นตอนในการระบุการรวมธุรกิจ
2. กำหนด “วันที่ซื้อ”
ต้องเป็นวันที่ผู้ซื้อได้อำนาจควบคุมในผู้ถูกซื้อ โดยทั่วไปคือ วันที่โอนสิ่งตอบแทนและได้รับสินทรัพย์ หนี้สินจากผู้ซื้อตามกฎหมาย
ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดรายการ และเริ่มจัดทำงบการเงินรวม
อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้ออาจได้มีการควบคุมก่อนหรือหลังวันที่สิ้นสุดรายการซื้อขาย หากเงื่อนไขในสัญญากำหนดวันที่ผู้ซื้อได้มีการควบคุมเป็นวันอื่น ดังนั้น นักบัญชีจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงด้วย
ขั้นตอนในการระบุการรวมธุรกิจ
3. รับรู้และวัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่ระบุได้ที่ได้มา หนี้สินที่รับมาและส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมให้ผู้ถูกซื้อ
สินทรัพย์และหนี้สิน
ผู้ซื้อต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ
ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมให้ผู้ถูกซื้อ วัดมูลค่าได้ 2 วิธี คือ
1. มูลค่ายุติธรรม
2. มูลค่าของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อที่ผู้ซื้อรับรู้
ตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของในปัจจุบัน
ตัวอย่างการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ
มูลค่า มูลค่า ผลต่าง มูลค่า
ตามบัญชี ยุติธรรม ยุติธรรมหลัง DTL
เงินสด 100 100 - 100
ที่ดิน 200 400 200 400
รวมสินทรัพย์ 300 500 200 400
เจ้าหนี้ (100) (100) - (100)
ประมาณการหนี้สิน - (100) (100) (100)
หนี้สินภาษีเงินได้รอ
การตัดบัญชี(DTL) - - - (20)
รวมหนี้สิน (100) (200) (100) (220)
สินทรัพย์สุทธิ 200 300 100 280
ข้อมูลเพิ่มเติม ณ วันที่ซื้อ
1. ตีราคาที่ดินตามราคาตลาด เป็น 400บาท
2. รับรู้หนี้สินจากคดีความในศาล ถ้าแพ้คดีต้องจ่าย 100 บาท
ขั้นตอนในการระบุการรวมธุรกิจ
4. รับรู้และวัดมูลค่าของ “ค่าความนิยม” หรือ “กำไรจากการซื้อในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม”
สิ่งตอบแทนที่โอนให้ <<< มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ
ซื้อถูก เกิด “กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ” บันทึกรายได้ในงบกำไรขาดทุน
สิ่งตอบแทนที่โอนให้ >>> มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ
ซื้อแพง เกิด “ค่าความนิยม” บันทึกในงบแสดงฐานะการเงินและทดสอบการด้อยค่าทุกปีหรือมีข้อบ่งชี้
ตัวอย่างรับรู้และวัดมูลค่าของ “ค่าความนิยม” ณ วันที่ซื้อ
มูลค่ายุติธรรมหลัง TDL
เงินสด 100
ที่ดิน 400
รวมสินทรัพย์ 500
เจ้าหนี้ (100)
ประมาณการหนี้สิน (100)
หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (20)
รวมหนี้สิน (220)
สินทรัพย์สุทธิ 280
ข้อมูลเพิ่มเติม : ณ วันที่ซื้อ ผู้ซื้อได้จ่ายเงินสด 300 บาท เพื่อซื้อกิจการแห่งนี้ 100%
สิ่งตอบแทนที่โอนให้ เงินสด 300 บาท >>มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิเท่ากับ 280 บาท= เกิดค่าความนิยม 20 บาท
ตัวอย่างการทำงบการเงินรวม
1 + 2 + 3 = 4
งบการเงิน งบการเงิน Eliminate งบการเงินรวม
ผู้ซื้อ ผู้ถูกซื้อ Dr/(Cr)
เงินสด 200 100 - 300
เงินลงทุนในบริษัทย่อย 300 - (300) -
ที่ดิน 400 200 200 800
ค่าความนิยม - - 20 20
รวมสินทรัพย์ 900 300 (80) 1,120
เจ้าหนี้ (200) (100) - (300)
ประมาณการหนี้สิน (200) - (100) (300)
DTL - - (20) (20)
รวมหนี้สิน (400) (100 ) (120) (620)
ส่วนของเจ้าของ (500) (200) 200 (500)
รวมหน้าสินและส่วนของเจ้าของ (900) (300) 80 (1,120)
คำอธิบายรายการปรับ Eliminate ขอยกไปอธิบายในตอนต่อไปนะคะ
อย่าลืมกด Like&Share&Subscribe ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
สรุปเนื้อหาสาระสำคัญได้เข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณค่ะ