อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ
มาตรฐานฉบับนี้ กำหนดขอบเขตสำหรับผู้ลงทุน ซึ่งมีการควบคุมใน หรือมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญเหนือผู้ได้รับการลงทุน เพื่อกำหนดวิธีการนำวิธีส่วนได้เสียมาใช้
โดยพิจารณาจากสันนิษฐาน
1. มีอำนาจในการออกเสียงทางตรงหรือทางอ้อมอย่างน้อยร้อยละ 20
2. ถ้าน้อยกว่าร้อยละ 20 ให้พิจารณาหลักฐานอื่น ดังนี้
2.1 การมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการหรือเทียบเท่าในบริษัท
2.2 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตัดสินใจในเรื่องเงินปันผลหรือการแบ่งปันส่วนทุน
2.3 มีรายการระหว่างกันอย่างเป็นสาระสำคัญ
2.4 มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรระดับบริหาร
2.5 มีการให้ข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นในการดำเนินงาน
วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method)
1. เงินลงทุนเริ่มแรกบันทึกด้วยราคาทุน
ต้นทุนของเงินลงทุน>มูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้เฉพาะส่วนที่เป็นของกิจการ (เราจ่ายแพงกว่าสิ่งที่ได้มา เกิดค่าความนิยม ไม่แยกแสดง รวมอยู่ในเงินลงทุน)
ต้นทุนของเงินลงทุน <มูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่ระบุได้เฉพาะส่วนที่เป็นของกิจการ (เราจ่ายถูกกว่าสิ่งที่ได้มา ให้ถือเป็นรายได้ในการรับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน)
2. การปรับปรุงรายการเงินลงทุนวิธีส่วนได้เสีย
เงินลงทุนเริ่มแรก +กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น+ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุน -เงินปันผลรับ
- -
ตัวอย่างการลงบัญชี (เริ่มลงทุน)
บริษัท A ลงทุนในหุ้น บริษัท B จำนวน 1,000,000 บาท ในสัดส่วน 30% โดยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ เท่ากับ 3,000,000 บาท (30% = 900,000)
ต้นทุนของเงินลงทุน 1,000,000
มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ (3,000,000 x 30%) 900,000
จ่ายแพง (เกิดค่าความนิยม) (1,000,000 – 900,000) 100,000
บริษัท A มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญและจัดประเภทรายการเป็น เงินลงทุนในบริษัทร่วม
Dr. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 1,000,000
Cr. เงินสด 1,000,000
(บันทึกเงินลงทุนเริ่มแรก โดยรวมค่าความนิยมอยู่ในบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม)
ตัวอย่างการลงบัญชี (รับรู้กำไร)
บริษัท B มีกำไรสำหรับปี 1,000,000 บาท บริษัท A ต้องรับรู้ 30%
กำไรสำหรับปี 1,000,000
ส่วนได้เสีย 30%
ส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม (1,000,000 x 30%) 300,000
Dr. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 300,000
Cr. ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทร่วม 300,000
(บันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม 30%)
ตัวอย่างการลงบัญชี (รับรู้กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น OCI)
บริษัท B มีกำไรจากการตีราคาที่ดินเท่ากับ 2,000,000 บาท บริษัท A ต้องรับรู้ 30%
กำไรจากการตีราคาที่ดิน 2,000,000
ส่วนได้เสีย 30%
ส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม (2,000,000 x 30%) 600,000
Dr. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 600,000
Cr. ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทร่วม 600,000
(บันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม 30%)
ตัวอย่างการลงบัญชี (รับเงินปันผล)
บริษัท B มีการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 200,000 บาท บริษัท A ต้องรับรู้ 30%
เงินปันผลสำหรับปี 200,000
ส่วนได้เสีย 30%
รับรู้เงินปันผลในเงินลงทุนในบริษัทร่วม (200,000 x 30%) 60,000
Dr. เงินสด 60,000
Cr. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 60,000
(บันทึกเงินปันผล โดยนำไปหักออกจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม)
ตัวอย่างการลงบัญชี (รับรู้ขาดทุน)
บริษัท B มีขาดทุนสำหรับปี 1,000,000 บาท บริษัท A รับรู้ 30%
ขาดทุนสำหรับปี 1,000,000
ส่วนได้เสีย 30%
ส่วนได้เสียในขาดทุนของบริษัทร่วม (1,000,000 x 30%) 300,000
Dr. ส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัทร่วม 300,000
Cr. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 300,000
ถ้าส่วนแบ่งขาดทุนมีจำนวนเท่ากับหรือสูงกว่าเงินลงทุน กิจการต้องหยุดรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนที่เกิน โดยนำไปหักจากองค์ประกอบอื่นๆ ของส่วนได้เสีย
กิจการจะรับรู้ขาดทุนเพิ่มเติมเป็นหนี้สินก็ต่อเมื่อมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือมีภาระผูกพันจากการอนุมานหรือได้จ่ายเงินชำระแทนบริษัทร่วมไปแล้ว
กิจการจะกลับมาเริ่มบันทึกส่วนแบ่งกำไรอีกครั้ง เมื่อส่วนแบ่งกำไร เท่ากับส่วนขาดทุนที่กิจการยังไม่ได้นำมารับรู้ เนื่องจากการหยุดรับรู้ในตอนต้น
การด้อยค่าของเงินลงทุน
หลังจากนำวิธีส่วนได้เสียมาใช้ กิจการต้องพิจารณาเหตุแห่งการด้อยค่าของเงินลงทุน เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1. ปัญหาทางการเงินที่มีนัยสำคัญของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า
2. การละเมิดสัญญา เช่น การผิดนัดชำระหรือการหลีกเลี่ยงการชำระเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า
3. กิจการยินยอมให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าอัน เนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือทางกฎหมายที่เกี่ยวกับบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ประสบปัญหาทางการเงินที่ปกติแล้วกิจการจะไม่ยินยอมให้
4. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่บริษัทร่วมหรือการร่วมค้าจะเข้าสู่การล้มละลายหรือการปรับโครงสร้างทางการเงินอื่น หรือ
5. การหายไปของตลาดที่มีสภาพคล่องของเงินลงทุนสุทธิอันเนื่องมาจากปัญหาทางการเงินของบริษัทร่วมหรือการร่วมค้า
การเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย
1. เมื่อเงินลงทุนได้เปลี่ยนเป็น “บริษัทย่อย” (มีการซื้อหุ้นเพิ่มจนมีอำนาจควบคุม) กิจการต้องใช้วิธีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่องการรวมธุรกิจ และมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม
2. เมื่อเงินลงทุนได้เปลี่ยนเป็น “สินทรัพย์ทางการเงิน” (ขายสัดส่วนหุ้นออกไป) กิจการต้องวัดมูลค่าส่วนได้เสียที่เหลืออยู่ด้วยมูลค่ายุติธรรม ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และจะต้องรับรู้กำไรขาดทุนที่เกิดจากผลต่างระหว่าง 2.1 มูลค่ายุติธรรมของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่และผลตอบแทนจากการจำหน่าย และ 2.2 ยอดคงเหลือของเงินลงทุน ณ วันที่เลิกใช้ส่วนได้เสีย
3. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI) กิจการต้องบันทึกด้วยหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ (เข้ากำไรสะสม หรือ งบกำไรขาดทุน แล้วแต่ประเภทของรายการ) เสมือนว่าผู้ลงทุนได้ขายสินทรัพย์หรือหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้นออกไป
ถ้าเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชีฝาก Like & Share & Subscribe ด้วยค่ะ
Facebook GungGinkk School
Youtube GungGinkk School
Comments