top of page
Search
Writer's pictureArich Audit (Gungginkk School)

มาตรฐานบัญชี EP.5 : TFRS for NPAEs เรื่อง “ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน”


ทำไมต้องคำนวณ ? ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน

TFRS for NPAEs มีข้อกำหนดให้กิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินตามรายการในย่อหน้าที่ 304 โดยต้องรับรู้เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังนี้

1. กิจการมีภาระผูกพันใบปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์ในนอดีต ไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหือภาระผูกพันจากการอนุมาน

2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดังกล่าว

3. สามารถประมาณจำนวนของภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ


“เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างหลังออกจากงาน"เป็นไปตามข้อบังคับใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน กิจการจึงมีภาระผูกพันมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ และสามารถประมาณจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายได้อย่างน่าเชื่อถือ ดังนั้นกิจการจึงต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน โดยใช้ประมาณที่ดีที่สุด



วิธีการคำนวณ ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน

คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีเห็นว่า กิจการ NPAEs สามารถใช้วิธีคำนวณได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยไม่มีต้นทุนที่สูงเกินไปในการประมาณการหนี้สินจึงไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงตัวแปรดังต่อไปนี้

1. การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

2. การให้บริการของพนักงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

3. การเสียชีวิตของพนักงานที่อาจเกิดขึ้น


อย่างไรก็ตาม TFRS for NPAEs อนุญาตให้กิจการเลือกใช้ TAS 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน แทนได้

โดยใช้วิธีคิดลดแตต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method)

ซึ่งกิจการควรว่าจ้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมาช่วยคำนวณเนื่องจากมีความซับซ้อนของปัจจัยในการคำนวณประมาณการสูง

วิธีการคำนวณ ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน

ตัวอย่าง นาย ก เงินเดือน 10,000 บาท ทำงานบริษัท A มาทั้งหมด 15 ปี และต้องทำงานอีก 5 ปี จึงจะเกษียณ รวมทั้งหมด 20 ปี อัตราการลาออก 20 % (ไม่ลาออก 80%) เมื่อเกษียณจะได้เงิน 10 เดือน (300 วัน) ตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (สมมติ : ใช้ปีแรก และใช้วิธีที่1 )

ปี 25x1

ผลประโยชน์ 100,000 บาท * %ไม่ลาออก 80% * สัดส่วนปี 15/20 = ปมก.หนี้สิน 60,000 บาท

Dr. ต้นทุนบริการ 60,000

Cr.ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน 60,000

ปี 25x2

ผลประโยชน์ %ไม่ลาออก สัดส่วนปี ปมก.หนี้สิน

100,000 บาท * 80% * 16/20 = 64,000 บาท

Dr. ต้นทุนบริการ 4,000 ( B-A ตั้งเพิ่มจากปี 25X1 )

Cr.ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน 4,000

** ในงบแสดงฐานะการเงิน จะแสดงประมาณการหนี้สินเท่ากับ 64,000 บาท

ถ้าเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชีฝาก Like & Share & Subscribe ด้วยค่ะ

Facebook GungGinkk School

Youtube GungGinkk School


3,745 views0 comments

Hozzászólások


bottom of page