สรุป TFRS 9 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ในเรื่อง "การบัญชีป้องกันความเสี่ยง Hedge Accounting" Part 2
ทำไมจึงต้องมีการบัญชีป้องกันความเสี่ยง หรือ Hedge Accounting
เพื่อแสดงผลกระทบจากกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงของกิจการในงบการเงินและลดความผันผวนของงบกำไรขาดทุนจากรายการป้องกันความเสี่ยง
1. ใช้ Hedge Accounting
ปี 2018 ปี 2019 ปี 2020
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI) กำไร 1,000 ขาดทุน 500 -
งบกำไรขาดทุน (PL) - - กำไร 1,500 งบกำไรขาดทุน
ไม่มีความผันผวน
2. ไม่ใช่ Hedge Accounting
งบกำไรขาดทุน (PL) กำไร 1,000 ขาดทุน 500 กำไร 1,500 งบกำไรขาดทุนมี ความผันผวนสูง
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 วิธี ใช้อนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยงเหมือนกัน แต่งบการเงินสะท้อนภาพการป้องกันความเสี่ยงไม่เหมือนกันค่ะ
ประเภทของการป้องกันความเสี่ยง (Type of Derivatives and Hedge)
1. Hedge for Trading คือ การป้องกันความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ (ineffectiveness) ไม่ได้ลดความเสี่ยงให้กิจการ
รับรู้กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเข้างบกำไรขาดทุน (PL)
2. Fair Value Hedge คือ การป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของรายการ ดังนี้
- สินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการแล้ว
- สัญญาผูกมัดที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ
รับรู้กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเข้างบกำไรขาดทุน (PL)
3. Cash Flow Hedge คือ การป้องกันความเสี่ยงในความผันผวนของกระแสเงินสดในอนาคตของ
- รายการที่คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูงมาก
- สินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการแล้ว
รับรู้กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI)
4. Hedge of a net investment in a foreign operation คือ การป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในการดำเนินงานต่างประเทศ ความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
รับรู้กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI)
Fair Value Hedge
ตัวอย่าง การป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการแล้ว
1. กิจการมีลูกหนี้จำนวน USD 100 กำหนดรับชำระในอีก 1 เดือน อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท/1 USD กิจการจะมีลูกหนี้ 3,000 บาท ในงบการเงิน กิจการจึงทำสัญญา Forward เพื่อขายเงิน USD 100 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้ที่จะได้รับ
2. กิจการมีเจ้าหนี้จำนวน USD 100 กำหนดชำระในอีก 1 เดือน อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท/1USD กิจการตะมีเจ้าหนี้ 3,000 บาทในงบการเงิน กิจการจึงทำสัญญา Forward เพื่อซื้อเงิน USD 100 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของเจ้าหนี้ที่จะต้องจ่าย
ตัวอย่าง การป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของสัญญาผูกมัดที่ยังไม่ได้รับรู้รายการ
กิจการตกลงทำสัญญาขายสินค้า 100 ชิ้น ชิ้นละ USD 100 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า กิจการจึงทำสัญญษ Forward ซื้อสินค้าในปริมาณ 100 ชิ้นและราคา USD 100 เพื่อป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรมของสินค้าที่เราต้องซื้อเพื่อนำมาขายให้ลูกค้าตามสัญญาในอนาคต ในกรณีที่สินค้าในท้องตลาดราคาสูงขึ้นทำให้เราต้องซื้อมาขายแพงกว่าปกติ
Cash Flow Hedge
ตัวอย่าง การป้องกันความเสี่ยงในความผันผวนของกระแสเงินสดในอนาคตของรายการที่คาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในระดับสูง
1. กิจการต้องการใช้น้ำมันในอีก 1 เดือนข้างหน้า ปริมาณ 100 ลิตร กิจการจะทำสัญญา Forward เพื่อซื้อน้ำมัน 100 ลิตร ในราคาที่ตกลงไว้ 30 บาทต่อลิตร กำหนดส่งมอบในอีก 1 เดือนข้างหน้า
2. กิจการตกลงทำสัญญาขายสินค้า 100 ชิ้น แต่ไม่ได้ตกลงราคาไว้ กำหนดส่งมอบในอีก 1 เดือนข้างหน้า กิจการจึงทำสัญญา Forward เพื่อขายสินค้าในปริมาณ 100 ชิ้น และกำหนดราคาที่ USD 100 เพื่อป้องกันกระแสเงินสดในอนาคตไม่ให้มีความผันผวน
ในกรณีที่สินค้าในท้องตลาดมีราคาผันผวนในอีก 1 เดือนข้างหน้า เราจะมีกำไรและขาดทุนหักล้างกัน จากสัญญาขายสินค้าและสัญญา Forward
3. กิจการมีสัญญาเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว กิจการจึงทำสัญญา Interest Rate Swap เพื่อเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อลดความผันผวนของกระแสเงินสดจ่ายดอกเบี้ย
ตัวอย่าง การป้องกันความเสี่ยงในความผันผวนของกระแสเงินสดในอนาคตของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่รับรู้รายการแล้ว
กิจการทำสัญญาจะขายสินค้า 100 ชิ้น ชิ้นละ USD 100 ส่งมอบในอีก 1 เดือนข้างหน้า เป็นจำนวนเงิน USD 10,000 กำหนดชำระอีก 1 เดือนข้างหน้า กิจการจึงทำสัญญา Forward เพื่อขาย USD 10,000 ในอีก 1 เดือนข้างหน้าเช่นกัน
การบันทึกบัญชี กิจการต้องการใช้น้ำมันในอีก 2 เดือนข้างหน้า ปริมาณ 100 ลิตร กิจการจะทำสัญญา Forward เพื่อซื้อน้ำมัน 100 ลิตร ในราคาที่ตกลงไว้ 30 บาทต่อลิตร กำหนดส่งมอบในอีก 2 เดือนข้างหน้า
สมมติว่า ยังไม่ได้สินค้า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็น 40 บาทต่อลิตร ทำให้สัญญา Forward ที่เราซื้อน้ำมันราคา 30 บาท เกิดกำไร เพราะซื้อได้ถูกกว่า มูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 บาท
สัญญา Forward กำไร 1,000 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI)
1. เมื่อมีการใช้น้ำมัน หรือขายน้ำมันออกไป เราต้องรับรู้กำไร 1,000 บาทใน OCI เข้า PL ทันที
สัญญา Forward กำไรใน OCI 1,000 บาท งบกำไรขาดทุน
น้ำมัน ต้นทุนขาย 30,000 งบกำไรขาดทุน
2. หรือเมื่อได้รับน้ำมันมาแล้ว เราสามารถนำกำไรใน OCI มาปรับกับต้นทุนสินค้าคงเหลือ-น้ำมันได้
สัญญา Forward กำไรใน OCI 1,000 มูลค่าของสินค้าคงเหลือ 30,000 – 1,000 = 29,000
ถ้าเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชี ฝาก Like & Share & Subscribe ด้วยค่ะ
Youtube,Facebook : GungGinkk School
Kommentare