top of page
Search
Writer's pictureArich Audit (Gungginkk School)

มาตรฐานบัญชี EP.1 : TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

Updated: Feb 23, 2021



TAS 18 รายได้ โอน Risk&Rewards เปลี่ยนเป็น TFRS 15 โอน Control

ขั้นตอนการพิจารณารับรู้รายได้

วิธี Five-step mode ตาม TFRS15

1. ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า

2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติ

3. กำหนดราคาของรายการ

4. ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา

5. รับรู้รายได้เมื่อ(หรือขณะที่)กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น

TFRS 15 : รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า เริ่มใช้ 1/1/2562


ยกเลิก

TAS18: รายได้

TAS11: สัญญาก่อสร้าง

TFRIC18 : เรื่องการโอนสินทรัพย์จากลูกค้า

TFRIC13: โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า

TSIC31: เรื่องรายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา

TFRIC18: เรื่องสัญญาสำหรับก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์




STEP1 : ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า

สัญญา ข้อตกลงตั้งแต่ 2 ฝ่าย เกิดสิทธิบังคับได้และภาระผูกพันไม่สามารถยุติได้ ยกเว้นจ่ายค่าชดเชย

เงื่อนไขในการรับรู้สัญญา

- สัญญาอนุมัติแล้วโดยลายลักษณ์อักษร วาจา หรือ ประเพณี

- สัญญาระบุเงื่อนไขการชำระสิ่งตอบแทน

- ระบุสิทธิทั้ง 2 ฝ่าย เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ต้องส่งมอบ

- สัญญามีเนื้อหาเชิงพาณิชญ์

- มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเรียกเก็บสิ่งตอบแทนได้

เริ่มวิเคราะห์ Step 2 ได้

** ไม่เกิดสัญญา จะไม่เริ่มรับรู้รายได้ตาม Step ต่อๆไป


ตัวอย่าง : กิจการขายอาคาร 10 ล้าน ลูกค้าจ่ายเงินดาวน์ 1 ล้าน แต่ลูกค้ากำลังล้มละลาย กิจการมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะรับรู้รายได้เพียง 1 ล้านเท่านั้น ถึงแม้จะมีการโอน Control ของอาคารแล้วก็ตาม


STEP 2 : ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติ (Performance Obligation – PO)

ภาระที่ต้องปฏิบัติ (PO) หมายถึง ข้อตกลงในสัญญากับลกค้า เพื่อโอนสิ่งเหล่านี้

1. สินค้าหรือบริการที่แตกต่างกัน

2. ชุดของสินค้าและบริการที่แตกต่างกันแต่มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เหมือนกัน (Single PO)


ชุดของสินค้าหรือบริการ ( มากกว่า 1 สินค้าหรือ 1 บริการ )

มีการบูรณาการกันเป็นอย่างเดียว เช่น รับเหมาก่อสร้าง

-ขายวัสดุ

-ก่อสร้าง

รวมเป็น 1PO เพราะต้องทำควบคู่กัน ไม่สามารถทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้

มีการดัดแปลงอย่างมีสาระสำคัญ เช่น ขายโปรแกรม SAP

- ขายโปรแกรม

- ติดตั้งโปรแกรม

รวมเป็น 1PO เพราะต้องปรับแต่งโปรแกรมใหม่อย่างมีสาระสำคัญให้เข้ากับงานลูกค้า

พึ่งพาหรือเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เช่น พัฒนาสินค้า

- ออกแบบสินค้า

- พัฒนาสินค้า

รวมเป็น 1PO เพราะต้องออกแบบและพัฒนาควบคู่กันไม่สามารถจ้างทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ลูกค้าได้ประโยชน์จากแต่ละสินค้าและบริการโดยตรงโดยแยกนำไปใช้กับสิ่งที่ลูกค้ามี เช่น ขายโปรแกรม Window

- ขายโปรแกรม

- ติดตั้งโปรแกรม

เป็ร 2PO เพราะ ลูกค้ามารถซื้อแต่โปรแกรมและให้ใครติดตั้งก็ได้ ไม่ยากเกิน

สินค้าและบริการแต่ละอันสามารถระบุแยกจากข้อตกลงอื่นได้ เช่น ขายเครื่องจักรพร้อมซื้อปนะกันเพิ่ม

- ขายเครื่องจักร

- ประกันสินค้า

- บริการระบุแยกจากกันชัดเจนไม่มีความเกี่ยวข้องกัน จะซื้อไม่ซื้อประกันเพิ่มก็ได้


STEP3 : กำหนดราคาของรายการ (Transaction Price)

ทั่วไปราคาของรายการจะเท่ากับจำนวนเงินที่ระบุในสัญญา แต่บางกรณีสัญญาอาจระบุเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น สิ่งตอบแทนผันแปร, สิ่งตอบแทนที่ไม่ใช้เงินสด, สิ่งตอบแทนที่จ่ายให้กับลูกค้า และมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญในสัญญา เช่น ซื้อยิ่งมากราคายิ่งถูก คือราคาตามดัชนีต่างๆ

STEP4 : ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา

(เกิดขึ้นเฉพาะกรณี 1 สัญญามีมากกว่า 1 ภาระเท่านั้น)

กิจการต้องปันส่วนราคาของแต่ละ PO โดยใช้ราคาขายแบบเอกเทศ (ราคาที่ขายหรือบริการแก่ลูกค้าโดยทั่วไป) ถ้าหาราคาเอกเทศไม่ได้ให้ใช้ 3 วิธี คือ

1. วิธีปรับปรุงจากการสำรวจตลาด คือ ใช้ราคาคู่แข่งหรือราคาตลาด

2. วิธีต้นทุนคงที่คาดไว้บวกด้วยอัตรากำไร คือ ประมาณต้นทุนและบวก Margin เป็นราคาเอกเทศ

3. วิธีส่วนของราคาที่เหลือ คือใช้ราคาเอกเทศของ PO ที่ทราบ หักออกจากราคารวม ที่เหลือเป็นราคาเอกเทศของ PO ที่ไม่ทราบ


ตัวอย่าง : กิจการขายเครื่องกรองน้ำพร้อมติดตั้งและขายบริการรับประกัน 10 ปี โดยเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 PO ดังนี้


PO ราคาตามสัญญา ราคาขายแบบเอกเทศ ปันส่วน ราคาของรายการ

เครื่องกรองน้ำบริ

การติดตั้งรับประกัน 10 ปี 10,000 10,000 10,000/14,000*10,000 7,150

2,000 2,000/14,000*10,000 1,425

2,000 2,000/14,000*10,000 1,425

14,000 10,000


Dr.เงินสด 10,000

Cr.ขายและให้บริการ 8,575

Cr.รายได้รับล่วงหน้า 10 ปี 1,425

(ทยอยรับรู้)


STEP5 : รับรู้รายได้เมื่อ(หรือขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น

Over Time

ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้นตลอดช่วงเวลาหนึ่ง คือ การรับรู้รายได้ตลอดเวลาของปฏิบัติตามภาระโดยวัดความก้าวหน้า แบ่งเป็น

1. วิธีผลผลิต วัดจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่โอน Control ให้ลูกค้า

2. วิธีปัจจัยนำเข้า วัดจากมูลค่าทรัพยากรที่ใช้ไป

ทยอยรับรู้รายได้

ผู้ขาย ระหว่างผลิต ผู้ซื้อ

Point in Time

ภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

จะใช้ได้เมื่อไม่เข้าเงื่อนไขของ Over time โดยจะมีการรับรู้รายได้เมื่อมีการโอน Control ในสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

ผู้ขาย ระหว่างผลิต ส่งมอบ ผู้ซื้อ รับรู้รายได้เมื่อโอน Control


เงื่อนไขการรับรู้รายได้แบบ Over Time เมื่อลูกค้า

1. ได้รับประโยชน์ทันทีที่กิจการได้ปฏิบัติงาน

ตัวอย่าง งานรักษาความปลอดภัย งานทำความสะอาด

2. ได้ Control ในสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตัวอย่าง สร้างอาคาร พัฒนาโปรแกรม

3. การปฏิบัติงานไม่ก่อให้เกิด “ทางเลือกอื่นในการนำไปใช้ (Alternative Use)” และกิจการมีอำนาจบังคับให้จ่ายชำระสำหรับการปฏิบัติงานนั้น

ตัวอย่าง งานที่เจาะจง ขายลูกค้าที่ Orderได้เท่านั้นไม่สามารถนำไปขายคนอื่นได้


ถ้าเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีและผู้สอบบัญชีฝาก Like & Share & Subscribe ด้วยค่ะ

Facebook GungGinkk School

Youtube GungGinkk School




621 views0 comments

Comments


bottom of page